บทความ : สารเครือซิเมนต์ไทย (SCG)
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม นับวันจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และมีอิทธิพลกับชีวิตของคนเรามากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างสรรค์ของ นักวิทยาศาสตร์ที่ประดิษฐ์ คิดค้น และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ ดังนั้น องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงควรร่วมกันสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านนี้ให้มี จำนวนเพิ่มมากขึ้น เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในสังคม
ดังนั้น เครือซิเมนต์ไทย (SCG) จึงสนับสนุนโครงการด้านนวัตกรรมและวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 และขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2551
เครือซิเมนต์ไทย (SCG) มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจข้อหนึ่งว่า “ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม” จึงมีนโยบายส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมด้านต่าง ๆ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งด้านนวัตกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณประโยชน์ กีฬา และการศึกษา โดยเฉพาะด้านนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่ง
เครือซิเมนต์ไทย (SCG) ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ปี 2525 ประกอบด้วย
- รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
เริ่มปี 2525 เพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์อาวุโสให้ค้นคว้า สร้างสรรค์งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ และอาจจะพัฒนาเป็นผลงานวิจัยระดับโลก
- รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่
เริ่มปี 2542 เพื่อเสริมสร้างขวัญ กำลังใจแก่นักวิทยาศาสตร์อายุไม่เกิน 35 ปี ให้ทำงานวิจัยและพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่อง และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
- รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น
เริ่มปี 2525 เพื่อเชิดชูเกียรติครูที่มีความดีเด่นทางด้านการสอน และสร้างคุณประโยชน์แก่นักเรียนและวงการวิทยาศาสตร์ของประเทศ
- ค่ายวิทยาศาสตร์ช้างเผือกเครือซิเมนต์ไทย
(SCG Sci Camp) เริ่มปี 2530 เพื่อสนับสนุนและพัฒนาเยาวชนที่สนใจเรียนด้านวิทยาศาสตร์ให้พัฒนาศักยภาพของตัวเองไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพในอนาคต
- การประกวดชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์
เริ่มปี 2540 เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักคิด ประดิษฐ์ สร้างสรรค์โครงงานวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก
- Thailand Rescue Robot Championship
เริ่มปี 2547 โครงการประกวดหุ่นยนต์กู้ภัยระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุนเยาวชนไทยได้แสดงความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดย
ผู้ชนะเลิศจะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยนานาชาติที่ต่างประเทศ ทั้งนี้ ปี 2549 และ ปี 2550 นักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันดังกล่าว ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศเป็นอย่างยิ่ง
เครือซิเมนต์ไทย (SCG) เชื่อมั่นว่า การสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว นอกจากจะสร้างขวัญ กำลังใจให้กับบุคคลากรคุณภาพที่ได้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อประโยชน์ต่อ ประเทศชาติแล้วยังเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชนได้ยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป