เรียงตามปี | เรียงโดยชื่อ | เรียงตามมหาวิทยาลัย
ศาสตราจารย์ ดร. วิรุฬห์ สายคณิต (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2525 สาขาฟิสิกส์ เสนอทฤษฎีใหม่ที่อธิบายพฤติกรรมเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในสิ่งแวดล้อมไร้ระเบียบ ซึ่งน าไปสู่ความเข้าใจถึงคุณสมบัติต่างๆ ของสารจำ พวกอสัณฐาน กึ่งตัวนำสารผลึกกึ่งตัวนำที่มีสิ่งเจือปนสูง ฯลฯ อันเป็นการก่อให้เกิดวิวัฒนาการในวงการอิเล็กทรอนิกส์ เพราะสารเหล่านี้มีประโยชน์ในการใช้ผลิตแสงเลเซอร์ เซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ อีกมาก |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 สาขาชีววิทยา (พันธุศาสตร์) ค้นพบกลไกทางพันธุศาสตร์ของโรคแอลฟ่าธาลัสซีเมีย โดยพบว่าเกิดขึ้นจากความผิดปกติของยีนแอลฟ่าซึ่งมีทั้งสิ้นสี่หน่วย จากมารดาและบิดาฝ่ายละสอง หน่วย ซึ่งความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับจำนวนของยีนที่ผิดปกตินั้น |
ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว. พุฒิพงศ์ วรวุฒิ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2527 สาขาสรีรวิทยาการสืบพันธุ์ ค้นพบว่าเออร์กอตแอลคาลอยด์มีผลห้ามการฝังตัวของบลาสโตซิสในหนูขาว โดยไม่ไปท าอันตรายต่อบลาสโตซิสโดยตรงแต่ ไปห้ามการหลั่งฮอร์โมนจาก ต่อมใต้สมองที่ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ให้สร้างโปรเจสเตอโรน นับเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ส าคัญอันนำไปสู่การ เข้าใจกลไกการทำ งานของสารประเภทนี้ที่ระดับสมองส่วน ไฮโปทาลามัสจนถึงขั้นพัฒนามาใช้ในการห้ามการหลั่งฮอร์โมนโปรแลกติน และห้ามอาการน้ำนมไหล และพบว่าฮอร์โมนแอนโดรเจนสามารถกระตุ้นการฝังตัวของ บลาสโตซิสได้เช่นเดียวกับฮอร์โมนอีสโตรเจน |
ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2527 สาขาชีวเคมี ค้นพบการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและคุณสมบัติหลายประการของเยื่อหุ้มเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรีย และความเกี่ยวโยง ระหว่างการเปลี่ยนแปลงเหล่า นี้กับอาการของโรคนี้ทางโลหิตวิทยา ค้นพบเอนไซม์ใหม่และวิถีปฏิกิริยาใหม่ของเชื้อมาลาเรียโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์และใช้สารโฟเลต อันเป็นแนวทางในการ พัฒนายาต้านมาลาเรียใหม่ ๆ |
รองศาสตราจารย์ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2528 สาขาชีวเคมี (พันธุวิศวกรรม) ค้นพบยีนโปรตีนสารพิษฆ่าลูกน้ำยุงจากแบคทีเรียและศึกษาโครงสร้างที่ลำดับนิวคลีโอไทด์จนทราบลำดับกรดอะมิโนส่วนที่ ออกฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุง ค้นพบชิ้นดีเอ็นเอชนิดจำเพาะต่อพันธุ์ของยุงก้นปล่องจนนำมาใช้จำแนกพันธุ์ของยุงก้นปล่องได้อย่างง่าย ๆ การค้นพบทั้งสองเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพ การควบคุมยุงพาหะนำโรค |
รองศาสตราจารย์ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2529 สาขาเคมี ค้นพบสารใหม่ในกลุ่ม Cyclohexene epoxides ซึ่งสกัดได้จากต้นไม้ในจีนัสยูวาเรีย ทำให้เข้าใจกลไกชีวสังเคราะห์ของสารกลุ่ม ดังกล่าวในต้นไม้อย่าง แน่นอนจากหลายกลไกที่มีผู้เสนอขึ้นมา ค้นพบปฏิกิริยาอันนำไปสู่การสังเคราะห์สารหลายชนิดในตระกูล Cyclopentenoid antibiotics เช่น ซาร์โคมัยซิน เมทธิลิโนมัยซิน เอ และ บี ตลอดจนถึงการสังเคราะห์ไดออสไพรอล อันเป็นสารออกฤทธิ์ถ่ายพยาธิในลูกมะเกลือ |
ศาสตราจารย์ ดร. สุทัศน์ ยกส้าน (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2530 สาขาฟิสิกส์ทฤษฎี สร้างทฤษฎีอธิบายสมบัติพื้นฐานบางประการของสภาพนำยิ่งยวด โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับอุณหภูมิวิกฤตความร้อนจำเพาะ และฟังก์ชั่นคลื่นของตัวนำ ยิ่งยวดขณะมีสารเจือที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กและไม่เป็นแม่เหล็กชนิดต่าง ๆ และได้ตั้งทฤษฎีอธิบายสมบัติ บางประการของระบบที่ประกอบด้วยตัวนำยิ่งยวดประกอบ กับตัวนำปกติอีกด้วย |
ศาสตราจารย์ ดร. สถิตย์ สิริสิงห (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นปี พ.ศ. 2531 สาขาจุลชีววิทยา พบว่าการขาดไวตามินเอในสารอาหารทำให้ภูมิคุ้มกันเฉพาะแห่งเสียไป เนื่องจากไม่สามารถแสดงออกได้ในลำไส้และเนื้อเยื่อ ต่าง ๆ และได้พัฒนาวิธีวินิจฉัย โรคเขตร้อนหลายอย่างด้วยวิธีการอิมมิวโนวิทยา |
ศาสตราจารย์ ดร. ถาวร วัชราภัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2532 สาขาพฤกษศาสตร์ พบการเกิดลักษณะใหม่ของดอกกล้วยไม้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผันแปรของเซลล์ร่างกายในต้นที่ขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศด้วย วิธีการเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็น คนแรกและรายงานปรากฏการณ์ดังกล่าวในพืชโตเต็มวัยเมื่อ พ.ศ. 2515 ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน มีผู้ใช้วิธีดังกล่าวเพื่อสร้างพืชพันธุ์ใหม่ ๆ อีกมาก |
รองศาสตราจารย์สดศรี ไทยทอง (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2533 สาขาสัตววิทยา จากการแยกสายพันธุ์บริสุทธิ์ของเชื้อไข้มาลาเรียชนิดพลาสโมเดียมฟัลซิปารัม ได้พบว่าในผู้ป่วยบางรายมีเชื้อมาลาเรียอยู่หลาย สายพันธุ์โดยแต่ละสายพันธุ์มี ระดับความไวต่อยาที่ใช้รักษาและลักษณะเชิงพันธุกรรมแตกต่างกัน และสามารถชักนำสายพันธุ์ที่ไวต่อยา ให้เกิดการดื้อต่อยาในหลอดทดลองได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งในการศึกษาหาข้อมูลทางชีวเคมีและพันธุกรรมของเชื้อมาลาเรีย |
ศาสตราจารย์ ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้ (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2533 สาขาชีววิทยา (พันธุศาสตร์) ค้นพบยุงก้นปล่องพาหะชนิด Anopheles dirus เป็นกลุ่มสปีซีส์ซับซ้อนที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 5 ชนิด ซึ่งมีแบบแผนการแพร่กระจาย, ความหลากหลายทางพันธุกรรม, แหล่งที่อยู่อาศัยและพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างชัดเจน และแต่ละชนิดมีสมบัติเป็นพาหะน าเชื้อไข้มาลาเรียได้แตกต่างกัน ซึ่งอาจเกี่ยวโยงกับความแตกต่างแปรผันทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานส าคัญในการพัฒนาหาแนวทางการควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียโดยวิธีทางพันธุศาสตร์ |
ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2534 สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ค้นพบวิธีออกแบบวงจรกรองดิจิตัลชนิดรีเคอร์ซีฟโดยการใช้โปรแกรมเชิงเส้น ทำให้เกิดความหลากหลายของรูปแบบและคุณ ลักษณะการตอบสนองความถี่ ขนาดของวงจร ค้นพบการออกแบบวงจรกรองชนิดรีเคอร์ซีฟ ที่ให้คุณสมบัติตอบสนองความถี่เฟสมี ลักษณะเชิงเส้น ออกแบบวงจรของความถี่ชนิดนันรีเคอร์ซีฟ ขนาดเรียบที่สุดและก าหนดจุดตัดความถี่ได้ ค้นพบวงจรที่สามารถวัดทิศทางและระยะทางได้ ค้นพบวงจรกรองอานาล็อกที่ประหยัดชิ้นส่วนในการผลิตและมีความอดทน ต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าชิ้นส่วนดังกล่าว ผลงานดังกล่าวเป็นแนวทางให้เกิดการประยุกต์ เช่น ในการสร้างอุปกรณ์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์และการประมวลภาพถ่าย ผิวโลกจากดาวเทียม เป็นต้น |
ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2535 สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้ท าการวิจัยอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับขบวนการถ่ายทอดยีนแบบ Conjugation-like ในแบคทีเรียชนิด Bacillus thuringiensis ซึ่งรวมถึงขบวนการแยก และหาล าดับยีนของ S-layer โปรตีนในแบคทีเรียชนิดนี้ด้วย ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวน าไปสู่แนวทางการพัฒนาและการสร้างสายพันธุ์ใหม่ ๆ ของ B. thuringiensis ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในการใช้แบคทีเรียชนิดนี้ควบคุมแมลงศัตรูพืชและแมลงพาหะของโรค นอกจากนี้ยังได้วิจัยเกี่ยวกับขบวนการเพาะเลี้ยงเซลล์แบบวนกลับ จนสามารถนำไปสู่ขบวนการผลิต B. thuringiensis ซึ่งมีศักยภาพสูงขึ้นกว่าเดิมที่ใช้กันอยู่ |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2536 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ศึกษาพยาธิวิทยาของโรคใบไม้ในตับ จนสรุปได้ว่าสาเหตุของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งพบกันมากในผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับ อาจมาจากการที่สารก่อมะเร็ง ที่อยู่ในอาหารไปกระตุ้นเซลล์ของระบบท่อน้ำดี ซึ่งถูกรบกวนจากพยาธิใบไม้เป็นเวลานาน ๆ และได้ศึกษา วิทยาศาสตร์พื้นฐานในด้านอิมมิวโนพยาธิวิทยาของโรค ไข้เลือดออกในเด็ก ซึ่งได้ผลงานที่มีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้ต่อในการ รักษาผู้ป่วยและการป้องกันโรคได้ในอนาคต |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิศิษฏ์ สิตปรีชา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2537 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ศึกษาพยาธิวิทยาและสรีรวิทยาส าหรับโรคไตในเมืองร้อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อ, พิษของพืชและสัตว์และสิ่งแวดล้อม งานวิจัยครอบคลุมโรค เล็ปโตสไปโรสิส, มาลาเรีย, ทริคิโนสิส, เมลิออยโดสิส, ดีซ่านจากพยาธิตับ, มะเร็งท่อน้ำดี, พิษจากงูแมวเซา และปัญหาทางแพทย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นปัญหาทางเมตาบอลิกที่เกี่ยวโยงกับการขาดโพแทสเซียมและการทำงานที่ผิดปกติของเอนไซม์ ผลการวิจัยท าให้สามารถรักษาและป้องกันโรคได้ รวมทั้งเป็นแรงดลใจให้แพทย์และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่หันมาศึกษาโรคไตทางอายุรศาสตร์และการวิจัยพื้นฐาน เพื่อความเข้าใจในการเกิดโรคและหาวิธีรักษา |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์อารี วัลยะเสวี (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2537 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ศึกษาและวิจัยอย่างต่อเนื่องทางด้านโภชนาการ โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งได้ค้นพบว่า เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทาง ชีวเคมีอันเนื่องมาจากอาหาร โดยมีสาเหตุจากการขาดสารฟอสฟอรัสในอาหารและการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารออกซาเลทที่มาจากอาหารท้องถิ่นซึ่งเป็นตัวผลึกที่สำคัญใน ก้อนนิ่ว ผลการวิจัยนำไปสู่การป้องกันโรคนิ่ว โดยการให้เกลือฟอสเฟต ในระดับชุมชนจนประสบผลสำเร็จ โดยการผสมผสานการวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์เข้ากับงาน วิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อ แก้ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านโภชนาการ |
ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ โศภน (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2538 สาขาเซลล์ชีววิทยา ได้ศึกษาทางด้านเซลล์ชีววิทยามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของชั้นผิวของพยาธิใบไม้เลือดและ พยาธิใบไม้ตับในคนและ ในโค/กระบือ และการเก็บรักษาหน่วยพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์อื่น ๆ โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารโปรตีนใน นิวเคลียสของเซลล์ ซึ่งเป็นตัวกำกับการขดเรียงตัวของเส้นใยโครมาตินในเซลล์อสุจ |
ศาสตราจารย์ ดร. วัลลภ สุระก าพลธร (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2539 สาขาฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ ค้นพบและเสนอหลักการใหม่ของการออกแบบวงจรรวมเชิงเส้น ที่ประยุกต์ใช้ในระบบประมวลผลสัญญาณอานาล็อกแบบ โหมดกระแสและเหมาะสมกับ การสร้างเป็นไอซีด้วยมอสเทคโนโลยีและไบโพลาร์เทคโนโลยี โดยเฉพาะการคิดค้นและเสนอแนวคิดของ วงจรสายพานกระแสปรับค่าขยายด้วยอิเล็กทรอนิกส์ |
รองศาสตราจารย์ ดร. ประพนธ์ วิไลรัตน์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2540 สาขาชีวเคมี มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องทางด้านการทำงานของวิตามินอี โรคมาลาเรียและโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งในเชิง พื้นฐานที่สามารถนำเอาวิธีการ ทางชีวเคมีมาใช้ เพื่อหาข้อมูลที่สามารถที่จะท าให้เข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดโรคบางอย่างได้ และในเชิง ประยุกต์ ในการนำ เทคนิคทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ใน ทางการแพทย์ เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค ผลงานวิจัยนี้ได้มีส่วนเสริมสร้างให้นักวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีความก้าวหน้าทางวิชาการในด้านเหล่านี้ |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2540 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทำการศึกษาทั้งข้อมูลวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิจัยทางคลินิกของไวรัสตับอักเสบอย่างต่อเนื่องและครบวงจร รวมทั้งสาเหตุ ลักษณะไวรัส, ระบาดวิทยา, อาการทางคลินิก, การตรวจวินิจฉัย รวมทั้งการป้องกันและรักษา เพื่อนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการแก้ ปัญหาในระดับประเทศต่อไป |
รองศาสตราจารย์ ดร. อภิชาต สุขส าราญ (มหาวิทยาลัยรามค าแหง) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2541 สาขาเคมีอินทรีย์ ทำวิจัยทางด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของเอคไดสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนควบคุมการลอกคราบและการเจริญเติบโตของแมลง พบเอคไดสเตียรอยด์ใหม่ หลายชนิดจากพืช ได้สังเคราะห์ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเอคไดสเตียรอยด์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างโครงสร้างกับฤทธิ์ทางชีวภาพ นำความรู้ใหม่มาสู่วงการ เคมีเป็นอย่างมากและเป็นผลงานที่จะนำไปสู่การพัฒนาเป็นสารควบคุม แมลงศัตรูพืชที่ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมต่อไป |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข (สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และมหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2541 สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ พัฒนาวิธีตรวจหาพยาธิใบไม้ในตับโดยใช้เทคนิคดีเอ็นเอ และได้ศึกษากลไกขั้นพื้นฐานของการก่อให้เกิดโรคพืชโดยแบคทีเรีย แซนโทโมนาส เพื่อนำ ไปเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาการป้องกันการระบาดของโรคพืช |
ศาสตราจารย์ ดร. วันเพ็ญ ชัยค าภา (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2542 สาขาวิทยาภูมิคุ้มกัน ได้พัฒนาวิธีวินิจฉัยโรคพยาธิตัวจี๊ด, โรคพยาธิใบไม้ปอด, ชุดตรวจวินิจฉัยโรคอหิวาต์อย่างรวดเร็ว, ชุดตรวจวินิจฉัยไทฟอยด์, โรคติดเชื้อซัลโมเนลลา, โรคติดเชื้อ Eschelichia coli และโรคเล็ปโตสไปโรสิส ผลงานหลายชิ้นมีศักยภาพที่จะนำไปใช้ต่อไปได้ เช่น การพัฒนาวัคซีนป้องกันอหิวาต์ชนิดกิน |
ศาสตราจารย์ ดร. จงรักษ์ ผลประเสริฐ (สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2543 สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มีผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและการจัดการเพื่อนำของเสียอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ใหม่ การบำบัดน้ำเสียและการใช้ประโยชน์จากน้ำเสียในอุตสาหกรรมทาง การเกษตร การน้ำของเสียกลับมาใช้ใหม่ และการควบคุมมลภาวะโดยใช้บ่อบำบัดแบบธรรมชาติด้วย วิธีต่าง ๆ |
ศาสตราจารย์ ดร. สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2543 สาขาเทคโนโลยีพลังงาน มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับพลังงานทดแทน, เทคโนโลยีการอบแห้งเน้นที่เมล็ดพืชและอาหาร โดยวิธีฟลูอิไดซ์เบดและสเปาเต็ดเบด การพัฒนาเตาเผาแกลบแบบไซโคลน การอบแห้งผักและผลไม้โดยใช้ฮีทปั๊มและพลังงานแสงอาทิตย์ การอบแห้งและการเก็บรักษาข้าว เปลือกในฉางเก็บ |
รองศาสตราจารย์ ดร. เกตุ กรุดพันธ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2544 สาขาเคมีวิเคราะห์ ได้พัฒนาระบบการวิเคราะห์ทางเคมีโดยเทคนิค Flow Injection Analysis (FIA) และเทคนิคที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการพัฒนา อุปกรณ์ เครื่องมือโดย ใช้วัสดุที่หาได้ภายในประเทศ การพัฒนาเทคนิคที่ใช้ใน FIA และการศึกษาปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้วิธี วิเคราะห์แบบใหม่ที่มีความถูกต้องแม่นยำสูง ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา โดยเน้นการประยุกต์ระบบที่พัฒนาขึ้นสำหรับแก้ไขปัญหาทาง เคมีวิเคราะห์ในประเทศไทยและเกิดนวัตกรรมใหม่ในระดับสากลด้วย |
ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2545 สาขาชีวเคมี ได้ศึกษาโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของโปรตีนระบบต่าง ๆ เช่นโปรตีนในเลือด, โปรตีนในระบบสืบพันธุ์เพศชาย, โปรตีนผิดปกติในโรคต่าง ๆ และ เอนไซม์จากพืช ก่อให้เกิดการค้นพบต่าง ๆ เช่น ค้นพบฮีโมโกลบินผิดปกติหลายชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อนในประเทศไทย, พบโปรตีนทำ หน้าที่ย่อยสารคาร์โบไฮเดรต ในพืชพื้นเมืองของประเทศไทยบางชนิด นอกจากนั้นยังให้ความสนใจและมีผลงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ศึกษาด้วย |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทัศน์ ฟู่เจริญ (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2545 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทำวิจัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียจนเกิดการความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติของยีนที่ทำให้เกิดโรคธาลัสซีเมียชนิดต่าง ๆ ในคนไทย จากความรู้พื้นฐานที่ได้ทำ ให้สามารถตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์โดยวิธีการตรวจหาความผิดปกติของยีนได้เป็นกลุ่มแรกของประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้พัฒนาเครือข่ายงานวิจัยภายใน ประเทศเชื่อมโยงกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ก่อผลดีต่อการแก้ปัญหาโรคเลือดจางธาลัสซีเมียในประเทศไทยหลายด้าน |
รองศาสตราจารย์ ดร. จ ารัส ลิ้มตระกูล (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2546 สาขาเคมี ศึกษากระบวนการและกลไกการเร่งปฏิกิริยาเคมีแบบวิวิธพันธ์ (Heterogenous) โดยมุ่งเน้นศึกษาระบบที่มีซีโอไลต์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีในระดับโมเลกุล รวมทั้งการออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีคุณสมบัติเฉพาะที่เหมาะสมกับแต่ละปฏิกิริยา นอกจากนี้ยังได้พัฒนาระเบียบวิธีใหม่ทางด้านเคมีคอมพิวเตอร์ที่มีความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยอาศัยหลักการทางทฤษฎีโครงสร้างอิเล็กตรอน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น เคมี วิศวกรรมเคมีและชีววิทยาโมเลกุล |
รองศาสตราจารย์ ดร. สุพจน์ หารหนองบัว (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2546 สาขาเคมี พัฒนาระเบียบวิธีทางเคมีคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นสมการแทนแรงกระทำระหว่างโมเลกุลในสารละลายโดยใช้ค่าพลังงานจากการคำนวณทางเคมีควอนตัม เพื่อนำ ไปปรับปรุงผลการศึกษาโดยวิธีโมเลคิวลาร์ไดนามิกส์ให้มีความถูกต้องมากขึ้น พัฒนาและรวมผลกระทบที่เนื่องมาจากอนุภาคที่สาม รวมไปถึงการพัฒนาศักย์เทียมเพื่อ ศึกษาสมบัติของสารละลายที่มีอิเล็กตรอนอิสระละลายอยู่ ทำวิจัยเพื่อค้นหาและออกแบบยา มุ่งที่การออกแบบยายับยั้งโรคเอดส์และตัวยับยั้งโรคซาร์ส นอกจากนี้ยังได้ใช้ เคมีคอมพิวเตอร์มาวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์จากซีโอไลต์ |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2547 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาวิจัยทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับโรคพิษสุนัขบ้า นับตั้งแต่การวินิจฉัยโรค การเกิดโรคจากไวรัส การป้องกันการเกิดโรค กระทั่งถึงระบาดวิทยาของ โรคพิษสุนัขบ้าและปัจจัยทางสังคมที่จะมีส่วนช่วยในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชม |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2548 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาโรคขาดสารไอโอดีน และโรคกระดูกพรุน โดยจุดมุ่งหมายในการศึกษาโรคขาดสารไอโอดีนเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการควบคุมโรคอย่างเป็นระบบ ตลอดจนขยายผลการตรวจภาวะการบกพร่องของต่อมธัยรอยด์ตั้งแต่กำเนิด ในการศึกษาโรคกระดูพรุนซึ่งเน้นปริมาณแคลเซี่ยมที่เหมาะสมในสตรีไทยสูงอายุ และปัจจัยทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียมและปริมาณวิตามินดีที่ควรได้รับ |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญส่ง องค์พิพัฒนกุล (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2548 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาวิจัยด้านโรคทางต่อมไร้ท่อ โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุนมาอย่างต่อเนื่องโดยมีการค้นพบว่าฮอร์โมนเพศหญิง คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีอิทธิพลทำ ให้มวลกระดูกลดลงในผู้ชายเมื่อสูงอายุแทนที่จะเป็นฮอร์โมนเพศชาย นอกจากนี้ยังพบว่ายีนของตัวรับเอสโตรเจนมีความสัมพันธ์กับมวลกระดูกทั้งในผู้ชายและผู้หญิง |
ศาสตราจารย์ ดร. ปิยะสาร ประเสริฐธรรม (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2549 สาขาวิศวกรรมเคมี การศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นสารที่ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ และลดการสูญเสียของสารตั้งต้น อันเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมการ กลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งในการศึกษาวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยานี้ได้ค้นพบวิธีการควบคุมความบกพร่องบนผลึกขนาดนาโนเมตร ของตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้สามารถนำผลึกเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้งานทางด้านตัวเร่งปฏิกิริยาและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ |
ศาสตราจารย์ ดร. สมชาย วงศ์วิเศษ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2549 สาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนทั้งระบบ เช่น การนำศาสตร์ทาง การถ่ายเทความร้อนและมวลกลศาสตร์ของไหล และเทอร์โมไดนามิกส์ มาประยุกต์ เพื่อพัฒนาอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนให้มีสมรรถนะสูงขึ้น โดยเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็น ความรู้ใหม่ต่าง ๆ ที่ได้จากงานวิจัยพื้นฐานเหล่านี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบอุปกรณ์ให้มีสมรรถนะสูงขึ้น |
ศาสตราจารย์ ดร. ยงค์วิมล เลณบุรี (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2550 สาขาคณิตศาสตร์ การนำคณิตศาสตร์ไปใช้ศึกษาระบบต่าง ๆ ทางชีววิทยา การแพทย์ และนิเวศวิทยา โดยมีความเชี่ยวชาญทางการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อ ศึกษาระบบไม่เชิงเส้น การวิเคราะห์ และแปลผล ทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับระบบที่ศึกษา ตอบปัญหาอันเป็นที่กังขาของผู้ดำเนินการในการควบคุม ดูแล หรือรักษาโรค โดยที่งานวิจัยด้านนี้ซึ่งเป็นการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์ เข้าไปประยุกต์ใช้ในทางชีวการแพทย์ จนเกิดเป็นการวิจัยทางด้าน Biomathematics และ System Biology |
ศาสตราจารย์ ดร. สมพงษ์ ธรรมพงษา (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2550 สาขาคณิตศาสตร์ การศึกษาคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ได้แก่ผลงานในทางทฤษฎีความน่าจะเป็น ทฤษฎีโมดูล และการวิเคราะห์ฟังก์ชันนัล ซึ่งได้รับการนำไปประยุกต์ ขยายแนวคิด และปรับปรุงขยายผลในสถานการณ์ใหม่ ๆ ผลงานวิจัยส่วนใหญ่ได้รับการอ้างอิงในระดับสูงโดยนักคณิตศาสตร์นานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานการศึกษาทฤษฎี จุดตรึง ที่ได้สร้างขอบเขตบนของค่าคงที่เจมส์ ซึ่งปรับปรุงขอบเขตบนของนักคณิตศาสตร์ที่มีการยอมรับมานาน พร้อมทั้งวิเคราะห์ว่าขอบเขตบนใหม่นี้เป็นข้อคาดเดา ที่ดีที่สุด |
ศาสตราจารย์ ดร. วัชระ กสิณฤกษ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2551 สาขาภูมิคุ้มกันวิทยา วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโมโนโคลนอล แอนติบอดี ต่อโปรตีนหลากหลายชนิด และนำของที่ผลิตได้มาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาการทำงานของ โมเลกุลบนผิวเซลล์เม็ดเลือดขาว และพัฒนาเป็นชุดตรวจวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาของประเทศ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งความรู้เหล่านี้อาจนำไปประยุกต์ใช้การป้องกันและรักษาโรคได้ |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2551 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ การศึกษาอณูพันธุศาสตร์ของมะเร็งหลังโพรงจมูก และการตกแต่งสายดีเอ็นเอด้วยหมู่เมททิล เพื่อควบคุมการทำงานของยีนและปกป้องจีโนมของเซลล์ จากการศึกษาเพื่อหาองค์ความรู้ใหม่เพื่อที่จะทำให้เกิดความเข้าใจถึงชีววิทยาของดีเอ็นเอ ความรู้นี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วย |
ศาสตราจารย์ ดร. สายชล เกตุษา (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2552 สาขาวิทยาการพืชสวน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลพืชสวนเขตร้อน สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันหรือลดการสูญเสียหลังการ เก็บเกี่ยวและรักษาคุณภาพของผัก ผลไม้ และไม้ดอกไม้ประดับหลังการเก็บเกี่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้เป็นประโยชน์ทั้งด้านการสร้างองค์ความรู้ใหม่ และการประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลพืชสวน |
ศาสตราจารย์ ดร. อารันต์ พัฒโนทัย (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2552 สาขาวิทยาศาสตร์เกษตร ศึกษาด้านงานวิจัยเกษตรเชิงระบบโดยเฉพาะงานวิจัยระบบการปลูกพืชและระบบการทำฟาร์มในเขตที่อาศัยน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการ ปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสง อีกทั้งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและเผยแพร่แนวคิดของงานวิจัยระบบการทำฟาร์มในประเทศไทย จนทำให้มีการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง และสามารถผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพดีเด่นมาอย่างต่อเนื่อง |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเสริฐ เอื้อวรากุล (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2553 สาขาไวรัสวิทยา ศึกษาวิจัยไวรัสเอชไอวี โดยได้สร้างวิธีการทดสอบที่ใช้ศึกษากระบวนการ uncoating ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกเมื่อไวรัสเข้าสู่เซลล์ อันเป็นงานวิจัยพื้นฐานที่อาจ |
นายแพทย์วิศิษฎ์ ทองบุญเกิด (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2553 สาขาโปรตีโอมิกส์ ศึกษาด้านโปรตีโอมิกส์ทางการแพทย์ โดยสามารถผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงจำนวนมากภายในระยะเวลาอันสั้นจากการนำเทคโนโลยีทางด้าน โปรตีโอมิกส์มาศึกษาโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงกลไกการเกิดโรคที่ดีขึ้น และอาจนำมาสู่การค้นพบตัวบ่งชี้ (biomarkers) |
ศาสตราจารย์ ดร. สุทธวัฒน์ เบญจกุล (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2554 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ดำเนินการวิจัยทั้งงานวิจัยพื้นฐานและประยุกต์ เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับอาหารทะเลที่ผลิตในประเทศไทย ตลอดจนการแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล โดยมุ่งเน้นงานวิจัยด้านปรับปรุงคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ และพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับสัตว์น้ำ ตลอดจนการวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือจากการแปรรูปสัตว์น้ำ เพื่อก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มและลดการกำจัดวัสดุเศษเหลือดังกล่าว ซึ่งเป็นสาเหตุของมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม |
ศาสตราจารย์ ดร. ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2555 สาขาประสาทวิทยาศาสตร์ ศึกษาการควบคุมการสร้างและบทบาทของเมลาโทนิน ในการช่วยป้องกัน ยับยั้งโรคสมองเสื่อมจากการติดสารเสพติดกระตุ้นประสาท และค้นพบศักยภาพของเมลาโทนินในการกระตุ้นการสร้างและการเจริญของเซลต้นกำเนิดระบบประสาท |
ศาสตราจารย์ นพ. ดร. นิพนธ์ ฉัตรทิพากร (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2555 สาขาสรีรวิทยาทางไฟฟ้าของหัวใจ ศึกษาค้นคว้าและวิจัยเชิงลึกทางด้านระบบไฟฟ้าในหัวใจที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (heart attack) จากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยเน้นถึงความสำคัญของแนวคิดในการทำงานวิจัยพื้นฐาน ที่จะต้องสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้และเชื่อมโยงเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่องกับการวิจัยทางคลินิกได้ |
ศาสตราจารย์ ดร. โสพิศ วงศ์คำ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2556 สาขาชีวเคมี ศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านชีววิทยาและชีววิทยาโมเลกุลของมะเร็งท่อน้ำดี ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับยีนที่เกี่ยวข้องกับการก่อมะเร็งและการแพร่กระจายของมะเร็งท่อน้ำดี จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการหาตัวบ่งชี้มะเร็งท่อน้ำดีในซีรัมผู้ป่วย เพื่อเสริมการวินิจฉัย การพยากรณ์โรค และพัฒนาแนวทางการรักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted therapy) |
รองศาสตราจารย์ ดร. บรรจบ ศรีภา (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2556 สาขาพยาธิวิทยา ด้านพยาธิวิทยาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยได้ศึกษาค้นคว้าและวิจัยเชิงลึกทางด้านกลไกการเกิดโรคโดยเฉพาะด้านอิมมูโนพยาธิวิทยาจนเข้าใจกระบวนการการเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับโดยได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ที่สำคัญ คือ สารคัดหลั่งจากตัวพยาธิสามารถแทรกซึมผ่านเซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีแล้วกระตุ้นการอักเสบอย่างรุนแรงในบริเวณที่ตรวจพบสารจากตัวพยาธิรวมทั้งทำให้มีการแบ่งเซลล์มากขึ้นและมีการตายของเซลล์ (apoptosis) ลดลงซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะนำไปสู่การเกิดมะเร็งท่อน้ำดี |
ศาสตราจารย์ ดร. ธวัชชัย ตันฑุลานิ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2557 สาขาเคมี |
ศาสตราจารย์ ดร. ธีรยุทธ วิไลวัลย์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2557 สาขาเคมี |
ศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์ใจ ใจเย็น (มหาวิทยาลัยมหิดล) นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2558 สาขาชีวเคมี ด้านการศึกษากลไกการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ และการประยุกต์ใช้ |